การกัดวัสดุเป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของดอกกัดลงบนพื้นผิวของชิ้นงาน เพื่อกำจัดส่วนที่ไม่ต้องการบนชิ้นงานออกไป โดยมีดอกเอ็นมิล (End Mill) หรือดอกกัดเป็นอุปกรณ์กัดวัสดุที่สามารถกัดวัสดุได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกัดผิวด้านนอก กัดข้าง กัดพื้นผิวโค้ง (Curved Surface) และเจาะรู ก็สามารถทำงานได้ในดอกเดียว

สำหรับบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจกระบวนการทำงานของดอกเอ็นมิลมากขึ้น รวมถึงประเภทที่แตกต่างกันของดอกเอ็นมิล และงานกัดที่ดอกเอ็นมิลสามารถทำได้ เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกดอกเอ็นมิลได้ตรงตามลักษณะงานที่ต้องการ

ทำความรู้จักกับการกัดวัสดุ

ก่อนลงรายละเอียดถึงดอกเอ็นมิล มาเข้าใจวิธีการกัดวัสดุกันก่อนว่าการกัดวัสดุนั้นมีวิธีการอย่างไร และมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง  

รูปภาพทำความรู้จัก ดอกเอ็นมิล

องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการกัดวัสดุมีดังนี้

  1. Work Piece เป็นชิ้นงานที่ต้องการนำมากัด เพื่อตกแต่งผิวและกัดเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก
  2. Cutting Tool วัสดุกัดโดยที่ส่วนปลายจะมีฟันกัดรูปแบบต่างๆ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานกัดในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง
  3. Rack Face ส่วนของฟันกัดที่ใช้ในการกัดผิววัสดุ
  4. Cutting Chip เศษของชิ้นงานที่ถูกกัดออกด้วยวัสดุกัด
  5. Cut Surface ส่วนของชิ้นงานที่ต้องการกัดออก
  6. Finished Surface ผิวของชิ้นงานหลังจากที่ถูกกัดแล้ว

ทำความรู้จักกับดอกเอ็นมิล

ดอกเอ็นมิลหรือดอกกัด ใช้สำหรับกัดชิ้นงานให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการกัดข้าง กัดขอบ ตัดวัสดุ  หรือเจาะรู โดยดอกเอ็นมิลถูกออกแบบให้มีฟันกัดหลายชนิดเพื่อนำไปใช้กัดชิ้นงานตามความเหมาะสม

 

รูปภาพที่2 ภายในบทความ ดอกเอ็นมิล

 

ส่วนประกอบของดอกเอ็นมิลประกอบไปด้วย

1. Cutter Diameter (เส้นผ่านศูนย์กลางใบมีด)

เส้นผ่านศูนย์กลางใบมีด วัดที่บริเวณส่วนหัวของดอกเอ็นมิล หรือส่วนปลายฟันกัด ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแตกต่างกันตามลักษณะการนำไปใช้งาน

2. Shank Diameter (เส้นผ่านศูนย์กลางด้ามจับ)

เส้นผ่านศูนย์กลางด้ามจับ วัดที่บริเวณส่วนท้ายของดอกเอ็นมิล เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจับยึดกับตัวจับดอกกัด ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางด้ามจับช่วยให้สามารถเลือกด้ามจับที่มีขนาดพอดีกับตัวจับ

3. Overall Length (OAL) & Length of Cut (LOC) (ความยาวโดยรวมของดอกเอ็นมิลและความยาวของเกลียว)

ทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นการวัดขนาดความยาวของดอกเอ็นมิลโดย

  • OAL เป็นความยาวทั้งหมดตั้งแต่ปลายด้ามจับไปจนถึงปลายของดอกกัด ไว้สำหรับเลือกใช้ดอกเอ็นมิลให้เหมาะกับอุปกรณ์จับดอก
  • LOC เป็นความยาวของปลายที่เป็นเกลียวทั้งหมดเพื่อดูระยะความลึกที่ดอกเอ็นมิลสามารถกัดวัสดุได้

รูปภาพที่3 ภายในบทความ ดอกเอ็นมิล

4.Helix Angle (มุมวงก้นหอย)

มุมวงก้นหอยมาจากการคำนวณเพื่อหาความแข็งแรงของดอกเอ็นมิล โดยลากเส้นตามแนวของดอกเอ็นมิล จากนั้นลากอีกเส้นตามแนวเกลียว จะได้รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมองศาแตกต่างกัน

  • มุม 45 องศา เหมาะสำหรับงานกัดที่ใช้ความเร็วรอบสูง และกัดบนวัสดุที่มีความแข็ง
  • มุม 40 องศา เหมาะสำหรับงานกัดที่ใช้ความเร็วในระดับปานกลาง และให้งานกัดที่มีคุณภาพดี
  • มุม 35 องศา เหมาะกับงานกัดที่ช้า เกลียวมีความแข็งแรงเพื่อให้เหมาะกับงานกัดวัสดุที่มีความแข็งมาก

ประเภทของดอกเอ็นมิล

ดอกเอ็นมิลแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามความเหมาะสมของลักษณะงานกัด โดยในบทความนี้ยกมา 4 ประเภทที่เป็นที่นิยม ได้แก่

  • Square End Mills ส่วนฟันดอกกัดจะเป็นรูปเหลี่ยม โดยดอกกัดประเภทนี้ใช้ในการกัดวัสดุทั่วไป รวมถึงการใช้งานเพื่อกัดร่องและกัดข้าง
  • Ball End Mills ส่วนฟันดอกกัดจะเป็นทรงโค้ง ใช้สำหรับงานกัดวัสดุที่ต้องการเจาะรูเกลียวให้ก้นรูเป็นทรงโค้ง หรือกัดร่องที่ต้องการให้ก้นร่องเป็นทรงโค้ง
  • Roughing End Mills ดอกกัดหยาบโดยตัวฟันกัดจะเป็นร่องขรุขระ เพื่อลดการสั่นสะเทือนจากการทำงานหนัก ใช้สำหรับงานกลึงหนักที่ต้องการกำจัดชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการออกจากชิ้นงานที่มีความแข็งมาก
  • Radius End Mills ส่วนฟันของดอกกัดจะมีความโค้งมนเล็กน้อย ใช้สำหรับงานกัดที่ต้องการขนาดรัศมีที่เฉพาะเจาะจง และสามารถใช้ในการกัดลบมุมและตัดของของชิ้นงาน

ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้การกัดและการกลึงด้วยดอกเอ็นมิล

รูปที่4 ภายในบทความ ดอกเอ็นมิล

ตัวอย่างชิ้นงานที่เกิดจากการกัดหรือกลึงด้วยดอกเอ็นมิล ได้แก่

การกัดร่อง (Slotting), การกัดข้าง (Side Milling), การต๊าปผิวข้าง (Tapering), การทำทรงโค้ง (Profiling), การตัดขอบ (Contouring), การกัดหลุม (Pocket Milling), การทำโครง (Ribbing), การเจาะผิวชิ้นงาน (Spot Facing)

จำนวนฟันกัดของดอกเอ็นมิล

การเลือกใช้งานดอกเอ็นมิลต้องเข้าใจเรื่องจำนวนของฟันกัดให้ดี เพื่อช่วยให้สามารถเลือกดอกเอ็นมิลได้ตรงกับความต้องการใช้งาน โดยแบ่งประเภทฟันกัดได้ ดังนี้

  • ดอกเอ็นมิลแบบ 1 ฟัน ถูกออกแบบมาใช้งานสำหรับเจาะวัสดุแข็งที่ใช้ความเร็วรอบสูงในการเจาะเศษให้หลุดออก
  • ดอกเอ็นมิลแบบ 2 ฟัน ถูกออกแบบให้มีพื้นที่ของร่องคายเศษที่กว้าง เพื่อช่วยให้คายเศษวัสดุที่ถูกกัดได้ดี จึงเหมาะกับการกัดวัสดุที่มีความนิ่ม
  • ดอกเอ็นมิลแบบ 3 ฟัน ถูกออกแบบมาให้มีร่องคายเศษเหมือนกับแบบ 2 ฟัน แต่แบบ 3 ฟันมีหน้าตัดที่กว้างกว่าทำให้ใช้กัดวัสดุที่มีความแข็งได้ดีทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และโลหะทั่วไป  
  • ดอกเอ็นมิลแบบ 4 ฟันขึ้นไป ถูกออกแบบให้ใช้ในการกัดงานที่มีความเร็วรอบมากขึ้น แต่จะมีปัญหาที่การคายเศษได้ไม่ค่อยดี แต่ข้อดีของฟันที่มากขึ้นช่วยให้เก็บรายละเอียดผิวได้ดี

สรุปบทความ

ดอกเอ็นมิลเป็นดอกกัดที่ทำมาจากเหล็กคุณภาพสูงไม่ว่าจะเป็น ทรังสเตนคาร์ไบด์ ไฮสปีดโคอบอลล์ ที่มีความทนทานต่อการสึกหรอ เหมาะกับการใช้ในงานกัด งานกลึงที่ต้องการความเที่ยงตรง และการผลิตชิ้นงานคุณภาพสูง

การเลือกใช้งานดอกเอ็นมิลต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงาน โดยพิจารณาให้ดีทั้งความยาว หน้าตัดดอก จำนวนฟันกัด และเครื่องจักรที่ต้องนำไปใช้งาน เนื่องจากดอกเอ็นมิลแต่ละประเภทถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งถ้าเลือกดอกเอ็นมิลที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจะทำให้ดอกสึกหรอหรือเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว

สินค้าและบริการด้านเครื่องจักรกลจากสุมิพล

เราให้คำปรึกษาในการเลือก CNC Machines, Cutting Tools, Tools Systems รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีบริการออกแบบระบบเครื่องจักรกลตามความต้องการของลูกค้า ที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[hubspot type=cta portal=7250954 id=3d1b550a-2b5e-4601-a191-59b2f14a2ce2]
Sumipol-machining-tools