เครื่องจักรมีความแม่นยำสูง มีความละเอียดอ่อน สามารถทำได้หลายอย่างที่มนุษย์ทำไม่ได้ แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมงานเจาะ งานคว้าน และงานผลิตอื่นๆ ยังต้องอาศัยดอกนำศูนย์ (Center Drill) อยู่ ทั้งๆ ที่ความแม่นยำของเครื่องจักรน่าจะเพียงพอต่อการเจาะ หรือการคว้านในทีเดียวแล้ว

บทความนี้จึงจะมาขยายเรื่องของดอกเจาะนำศูนย์ หรือดอกนำศูนย์ ว่ามีความสำคัญอย่างไร และมีการใช้งานในรูปแบบไหนบ้าง

ความสำคัญของดอกนำศูนย์

โดยทั่วไปในสายงานการผลิตนั้นจะมีการใช้งานวัสดุหลากหลายประเภท ซึ่งแน่นอนว่าจะมีความแตกต่างของหัวเจาะ หัวคว้าน หรือหัวกัดแตกต่างกันออกไป แน่นอนว่าวัสดุบางประเภทอาจไม่ต้องใช้ดอกนำศูนย์ได้ เนื่องจากในหัวเจาะมีการนำศูนย์อยู่แล้ว 

แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่ไม่สามารถดำเนินการเจาะได้ในครั้งเดียว หรือการเจาะพื้นผิวลงไปจะส่งผลต่อความเที่ยงตรงของดอกสว่าน จึงต้องอาศัยดอกนำศูนย์ ซึ่งมีรูปร่างเหมาะกับการเจาะพื้นผิวในการนำร่องทิศทาง

เมื่อมีการใช้งานดอกนำศูนย์กับวัสดุจะส่งผลให้ใช้งานดอกเจาะและดอกรูปแบบอื่นๆ ได้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนั้นจะทำให้ดอกสว่านไม่กระโดดออกจากจุดเจาะเมื่อกดลงไปอีกด้วย เพิ่มความแม่นยำในการทำงานมากขึ้นแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรก็ตาม

ความแตกต่างของดอกนำศูนย์และดอกเจาะ

สำหรับดอกนำศูนย์ที่ใช้กับเครื่องจักรจะมีความแตก่างกันในส่วนหัวเป็นหลัก โดยดอกนำศูนย์จะมีมุมแคบกว่าดอกเจาะเล็กน้อย เนื่องจากทำหน้าที่เป็นการนำ และมีมุมแต่งกรวย และมุมคายเศษ เพื่อทำให้ดอกเจาะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในภายหลัง 

ซึ่งการทำงานบางประเภทโดยเฉพาะการทำงานด้วยมือ อาจใช้เป็นเหล็กนำศูนย์ (Center Punch) ในการดำเนินการทำงานนำ ก่อนใช้ดอกสว่านแทนก็ได้เช่นกัน

ส่วนประกอบของดอกนำศูนย์

  1. ก้านดอกนำศูนย์ : เป็นส่วนที่ใช้ยึดจับดอกนำศูนย์ เพื่อส่งแรงหมุนในการเจาะนำศูนย์
  2. ร่องดอกนำศูนย์ : ร่องสำหรับคายเศษวัสดุ 
  3. คมตัด : คมสำหรับตัดวัสดุ
  4. ปลายคมตัด : ปลายคมที่ใช้เป็นหลักในการเจาะนำศูนย์ให้เที่ยงตรง

การทำงานของดอกนำศูนย์มักใช้ความเร็วเดียวหรือใกล้เคียงกับดอกเจาะ โดยอ้างอิงจากชนิดของวัสดุเพื่อความเหมาะสม

การใช้งานดอกนำศูนย์ 

สำหรับการใช้งานดอกนำศูนย์กับเครื่องจักรนั้นจะมีความสะดวกมากกว่าการเจาะมือพอสมควร เนื่องจากใช้แค่การติดตั้งกับเครื่องจักรเป็นหลัก ซึ่งมีวิธีการดำเนินงานดังนี้

  1. ทำเครื่องหมายจุดเจาะเบื้องต้นในวัสดุที่ต้องการ
  2. ติดตั้งวัสดุกับฐานยึดวัสดุ 
  3. ติดตั้งดอกนำศูนย์ ดอกสว่าน หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้าเป็นแบบอัตโนมัติ) ไว้ทีเครื่องจักร หากไม่ใช่เครื่องจักรอัตโนมัติ อาจต้องทำการเปลี่ยนด้วยมือหลังจากดำเนินการเจาะนำศูนย์ไปแล้ว
  4. ตั้งค่าเครื่องจักรก่อนการดำเนินการเจาะ ปรับระยะของชิ้นงานและหัวเจาะให้พอดี ตรวจเช็คความเร็วรอบให้เหมาะสมกับวัสดุและหัวเจาะ ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้เรียบร้อย 
  5. ดำเนินการเจาะ พร้อมสังเกตการดำเนินงานเป็นระยะๆ 
  6. ตรวจสอบความเรียบร้อยของงาน

โดยวิธีการเจาะอย่างละเอียดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องจักรที่คุณนำดอกนำศูนย์ดังกล่าวไปใช้งาน ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน และลดการทำวัสดุอุปกรณ์เสียหาย

สรุปบทความ

ดอกนำศูนย์มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการทำงานในสายการผลิต โดยเฉพาะโรงงานที่ต้องการความแม่นยำสูงและวัสดุราคาสูง การใช้ดอกนำศูนย์ในเครื่องจักรผลิตจะช่วยลดความผิดพลาดของชิ้นงานได้มาก อีกทั้งยังลดความเสียหายในการสูญเสียดอกเจาะไปในตัวด้วย

ถ้าคุณมีข้อสงสัยอุปกรณ์การเจาะ เครื่องจักรในอุตสาหกรรม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านเครื่องจักรจากสุมิพล

 สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด 

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-ebook-micrometers